ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ดาวหาง

                      ดาวหาง          ดาวหาง (Comet) เป็นวัตถุจำพวกน้ำแข็งซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากขอบของระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ดาวหางมีกำเนิดมาจากเมฆออร์ท (Oort's cloud) ซึ่งเป็นผลึกน้ำแข็งอยู่ที่ขอบของระบบสุริยะ เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ เช่น ซูเปอร์โนวา (Supernova) หรือดาวฤกษ์ระเบิด   ดาวหางจะหลุดออกจากถิ่นกำเนิดและถูกแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ดึงดูดมาเป็นบริวาร วงโคจรของดาวหางจึงยาวไกลและมีความรีมาก ไม่อยู่ในระนาบสุริยวิถี เนื่องจากเมฆออร์ทมีลักษณะเป็นทรงกลมที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์ ดาวหางจึงเคลื่อนที่เข้าดวงอาทิตย์ได้จากทุกทิศทาง           นักดาราศาสตร์แบ่งดาวหางออกเป็น 2 ประเภท คือ ดาวหางคาบวงโคจรยาว และดาวหางคาบวงโคจรสั้น ตอนแรกดาวหางมีคาบวงโคจรยาวเพราะเดินทางมาจากขอบของระบบสุริยะ แต่เมื่อเข้ามาถึงอาณาบริเวณที่มีดาวเคราะห์  แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์จะมีอิทธิพลทำให้วงโคจรของดาวหางเล็กลง หรือกลายมาเป็นดวงจันทร์โคจรรอบดาวเคราะห์เสียเอง ดังเช่น โฟบัสและดีมอส ดวงจั...

หลุมดำ

หลุมดำ           เทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon) ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ (Schwarzchild Radius) ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่ มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า “หลุมดำ”         การเกิดหลุมดำในเอกภพโดยทั่วไปก็คือการ เกิดการยุบตัวด้วยแรงโน้มถ่วง (Gravitational Collapse) ของดวงดาว (ดาวฤกษ์) เพราะว่าดวงดาวที่มีอยู่ในเอกภพจะอยู่ในสภาพที่มีสมดุลระหว่างแรง 2 ชนิดที่มีอยู่ในตัวมันเองก็คือ แรงผลักออกจากการที่มีปฏิกิริยานิวเคลียร์ (Nuclear Reaction) ที่อยู่ในใจกลางของดวงดาว และแรงดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลางที่เกิดจากขนาดของมว...

จันทรุปราคา

         จันทรุปราคา          จันทรุปราคา หรือ จันทรคราส เกิดขึ้นจากดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก เราจึงมองเห็นดวงจันทร์แหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง คนไทยสมัยโบราณเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "ราหูอมจันทร์"    จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์จันทรุปราคาไม่เกิดขึ้นทุกเดือน เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไม่ใช่ระนาบเดียวกัน หากตัดกันเป็นมุม 5 องศา ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเกิดจันทรุปราคาเพียงปีละ 1 - 2 ครั้ง  ประเภทของจันทรุปราคา         เนื่องจากระนาบวงโคจรของดวงจันทร์และระนาบวงโคจรของโลกไม่ซ้อนทับกันพอดี จึงทำให้เกิดจันทรุปราคาได้ 3 แบบ ดังนี้  จันทรุปราคาเต็มดวง  (Total Eclipse)  เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก  จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Eclipse)  เกิดขึ้นเมื่อบางส่วนของดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงามืด จันทรุปราคาเงามัว...

สุริยุปราคา

                       สุริยุปราคา         ดวงอาทิตย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าดวงจันทร์​ 400 เท่า แต่อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ 400 เท่า เราจึงมองเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีขนาดปรากฎเท่ากันพอดี  สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากดวงจันทร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เราจึงมองเห็นดวงอาทิตย์ค่อยๆ แหว่งมากขึ้นจนกระทั่งมืดมิดหมดดวงและโผล่กลับมาอีกครั้ง คนในสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ราหูอมดวงอาทิตย์” สุริยุปราคาเกิดขึ้นเฉพาะในวันแรม 15 ค่ำ แต่ไม่เกิดขึ้นทุกเดือน เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรรอบโลกไม่ใช่ระนาบเดียวกัน หากตัดกันเป็นมุม 5 องศา ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาบนพื้นผิวโลก จึงมีเพียงประมาณปีละ 1 ครั้ง และเกิดไม่ซ้ำที่กัน เนื่องจากเงาของดวงจันทร์ที่ทาบไปบนพื้นผิวโลกครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก และโลกหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว         ประเภทของสุริยุปราคา           เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์ร...

การยุบตัวของดาวฤกษ์

การยุบตัวของดาวฤกษ์           เมื่อไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหลอมรวมเป็นฮีเลียมหมด ปฏิกิริยาฟิวชันที่แก่นดาวจะหยุด และเปลือกไฮโดรเจนที่ห่อหุ้มแก่นฮีเลียมจะจุดฟิวชันแทน ดาวจะขยายตัวออก ณ จุดนี้ดาวจะพ้นจากลำดับหลักกลายเป็นดาวยักษ์แดง เปลือกไฮโดรเจนที่หลอมรวมเป็นฮีเลียมจมลงสะสมตัว ทำให้เกิดแรงกดดันให้แก่นฮีเลียมร้อนขึ้นจนกระทั่งอุณหภูมิสูงถึง  100  ล้านเคลวิน ฮีเลียมก็จะจุดฟิวชันหลอมรวมเป็นธาตุหนักอื่นๆ ต่อไป ได้แก่ คาร์บอน และออกซิเจน          เมื่อแก่นฮีเลียมฟิวชัน ดาวที่มีมวลน้อยกว่า  2 – 3  เท่าของดวงอาทิตย์ จะเกิดการระเบิดอย่างฉับพลัน เรียกว่า “ฮีเลียมแฟลช”  (Helium Flash)  ส่วนดาวที่มีมวลมากกว่า  2 – 3  เท่าของดวงอาทิตย์ จะเกิดการหลอมรวมอย่างค่อยเป็นค่อยไป อุณหภูมิผิวดาวจะสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หากพิจารณาแผนภาพ  H-R  ในภาพที่  2  จะเห็นว่า เมื่อเกิดการฟิวชันไฮโดรเจน ดาวจะอยู่ในลำดับหลัก หลังจากนั้นก๊าซร้อนบนผิวดาวจะขยายตัวและมีอุณหภูมิต่ำลง พื้นที่ผิวซึ่งมากขึ้นทำให้ดาวมีความสว่า...

กำเนิดดาวฤกษ์

                  กำเนิดดาวฤกษ์ เนบิวลา            ดวงดาวเกิดจากการรวมตัวของก๊าซและฝุ่นในอวกาศ  (Interstellar medium)  มวลจะมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ตาม “กฎความโน้มถ่วงแห่งเอกภพ”  (The Law of Universal)  ของนิวตันที่มีสูตรว่า  F = G (m 1 m 2 /r 2 )  เมื่อกลุ่มก๊าซและฝุ่นรวมตัวกันในอวกาศ เรียกว่า “เนบิวลา”  (Nebula)  หรือ “หมอกเพลิง” เนบิวลาเป็นกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่หลายปีแสง แต่เบาบางมาก องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุตั้งต้นของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล 
         เนบิวลามีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากไม่มีแหล่งกำเนิดความร้อน ในบริเวณที่ก๊าซมีความหนาแน่นสูง อะตอมจะยึดติดกันเป็นโมเลกุล ทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงดูดก๊าซจากบริเวณโดยรอบมารวมกันอีก ณ จุดนี้อุณหภูมิภายในเนบิวลาประมาณ  10 K  เมื่อมวลเพิ่มขึ้น พลังงานศักย์โน้มถ่วงของแต่ละโมเลกุลที่ตกเข้ามายังศูนย์กลางของกลุ่มก๊าซ เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน แผ่รังสีอินฟราเรดออกมา 
    ...

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน           ดาวเนปจูน หรือดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นที่ 4 ในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 50,000 กิโลเมตร จุโลกได้ถึง 60 ดวง ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 4,504 ล้านกิโลเมตร  หมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลา 16 ชั่วโมงอยู่ไกลจากโลกมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้นจึงจะเห็นเป็นจุดริบหรี่ได้ สิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับดาวเนปจูน ในทุกวันนี้ จึงเป็นข้อมูลที่ได้มาจากยาน วอยเอเจอร์ 2 ซึ่งโคจรสำรวจดาวเนปจูน ระยะใกล้ เมื่อ พ.ศ. 2532

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส          ดาวยูเรนัส หรือดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่ มีดวงจันทร์บริวาร 27 ดวง  หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลานานถึง 84 ปี  ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ทั้งนี้ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ใหญ่เป็น ที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ โคจรห่างจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 2,871 ล้านกิโลเมตร ทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก แต่เมื่อใช้กล้องโทรทัศน์ และรู้ตำแหน่งแน่ชัด ก็จะสามารถเห็นได้ในคืนฟ้าใสกระจ่าง

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์         ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและ ของเหลวสีค่อนข้างเหลือง  หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ  ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ หลายชนิดรวมกัน และดาวเสาร์มีวงแหวนถึง 3 ชั้น นอกจากนี้ ดาวเสาร์ยังมีดาวบริวาร 62 ดวง หนึ่งในนั้นคือดวงจันทร์ไททัน (Titan) ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่แปลกที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล เพราะเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีบรรยากาศ และนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ดวงจันทร์ดวงนี้มีสภาพเหมือนโลกยุคแรก ๆ หากดวงอาทิตย์ร้อนขึ้นเมื่อไร น้ำแข็งบนดวงจันทร์จะละลาย และมีวิวัฒนาการคล้ายกันกับโลกเลยทีเดียว

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี        ดาวพฤหัสบดี  เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 12 ปี  นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดาวบริวารมากถึง 67 ดวง

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร         ดาวอังคาร มีขนาดเล็กกว่าโลก เส้นผ่านศูนย์กลางราว 6,794  กิโลเมตร   พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ   เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก   เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบ ที่ใกล้เคียงกับโลก   เช่น มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6 ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9 มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง และมีอุณหภูมิพื้นผิวค่อนข้างเย็น อยู่ที่ประมาณ -65 องศาเซลเซียส        ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์อยู่ระหว่างการศึกษาดาวอังคารอย่างละเอียด โดยการส่งยานคิวริออสซิตี้ขึ้นไปศึกษาสภาพบนดาว เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเป็นโลกใบที่สอง

โลก

โลก         โลก เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต  นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนที่สลับซับซ้อนมาก แต่มีพื้นผิวเป็นหินเช่นเดียวกับ ดาวเคราะห์ชั้นในดวงอื่น ๆ ทั้งนี้ โลกมีดวงจันทร์เป็นบริวาร โคจรอยู่รอบโลกเพียงดวงเดียว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 4 ของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก และโคจรอยู่ห่างจากโลกโดยเฉลี่ยประมาณ 384,400 กิโลเมตร และโคจรรอบโลกในระยะเวลาประมาณ 29.5 วัน เป็นดวงจันทร์เป็นดาวดวงเดียวที่มนุษย์เดินทางไปสำรวจ โดยการนำตัวอย่างดินและหินจากดวงจันทร์กลับมาตรวจวิเคราะห์บนโลก

ดาวศุกร์

ดาวศุกร์         ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร มีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ใกล้เคียงกับโลกมาก  จนได้ชื่อว่าเป็นฝาแฝดกับโลก เราสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า ดาวประจำเมือง (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า ดาวรุ่ง (Morning Star)  เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น          ดาวศุกร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,104 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 224 วัน และมีทิศทางการหมุนที่ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ  คือในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นหมุน ทวนเข็มนาฬิกา ดาวศุกร์กลับหมุนตามเข็มนาฬิกา  ส่วนชั้นบรรยากาศบนดาวนั้น ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซต์ถึง 97% ทำให้ดาวศุกร์ร้อนมาก อุณหภูมิสูงเฉียด 500 องศาเซลเซียส และสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงสุกสว่างเมื่อมองเห็น ...

ดาวพุธ

ดาวพุธ         ดาวพุธ  เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีดาวบริวาร และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ  (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4,878 กิโลเมตร) จึงทำให้มันไม่สามารถสร้างสนามโน้มถ่วงที่มีพลังมากพอที่จะดึงดูดและกักเก็บ บรรยากาศได้ ดาวพุธจึงมีแรงโน้มถ่วงน้อยมาก และไม่มีบรรยากาศ ทำให้วัตถุอวกาศพุ่งชนได้ง่าย พื้นผิวดาวจึงขรุขระจากการพุ่งชนเหล่านั้น        ดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 88 วัน แต่กลับหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาถึง 180 วันเลยทีเดียว  นั่นหมายความว่า ดาวพุธจะมีด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ยาวนานมาก เช่นเดียวกับด้านที่หันออกไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์  ดังนั้น เมื่อมีด้านที่ดาวพุธหันเข้าหาดวงอาทิตย์ยาวนาน ประกอบกับไม่มีชั้นบรรยากาศ จึงทำให้พื้นผิวดาวร้อนมาก ส่วนด้านที่หันทิศตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก็เย็นมากเช่นกัน  ดาวพุธจึงได้รับฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง  

ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฎเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก 1.ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร 2.ความหนาแน่นเฉลี่ย 1,408 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตรหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตร 25.04 วัน 3.อุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 6,000 องศาเซลเซียส 4.แรงโน้มถ่วงที่ผิว 27.9 เท่าของโลกการศึกษาสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ พบว่า ดวงอาทิตย์มีธาตุต่าง ๆ อยู่มากมาย ธาตุที่มีมาก ที่สุดในดวงอาทิตย์ถึง 3 ใน 4 ส่วน คือ ไฮโดรเจน รองลงมา คือ ฮีเลียมธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า พลาสมา ( plasma ) คือมีประจุไฟฟ้า เพราะอยู่ภายใต้อุณหภูมิและ ความกดดันสูงมาก ประมาณว่าในใจกลางดวงอาทิตย์คงมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งสูงมากพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ หลอมไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม กระบวน...